หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

6. Communicative Language Teaching


  การสอนแบบนี้ส่วนมากจะไม่มีแผนการเรียนที่ชัดเจนขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เรียน โดยปกติแล้วการเรียนการสอนครูจะให้ผู้เรียนพูดแสดงความรู้สึกเป็นภาษาของผู้เรียน แล้วครูจะแปลหรือตีความที่นักเรียนพูดให้ทั้งชั้นฟังบรรยากาศชั้นเรียนจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนภาษา และเกี่ยวกับบทเรียนที่เรียน 
กิจกรรมการเรียนการสอนวิธีนี้มีดังนี้         
1. การแปล (translation) ผู้เรียนนั่งเป็นวงกลม ผู้เรียนพูดข้อความที่ต้องการจะแสดงความคิดหรือความรู้สึก ผู้สอนแปล ข้อความนั้นผู้เรียนพูดตามผู้สอน         
 2. การทำงานกลุ่ม (group work) บางครั้งผู้สอนจะให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มมีการกำหนดหัวข้อแล้วร่วมกันอภิปรายช่วยกันเตรียมบทสนทนา เตรียมเรื่องที่จะพูดหน้าชั้น เป็นต้น         
3. การบันทึกเสียง (recording) นักเรียนจะบันทึกเสียงของคนในขณะที่พูดภาษาเป้าหมาย         
4. ถอดความ (transcription) นักเรียนถอดคำพูดหรือบทสนทนาที่บันทึกไว้ สำหรับฝึกและวิเคราะห์โครงสร้างภาษา         
5. วิเคราะห์ (analysis) นักเรียนศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างภาษาความหมายของคำวลีประโยค ที่ถอดจากเทป         
6. สะท้อนกลับ/ตั้งข้อสังเกต (reflection/observation) ผู้เรียนรายงานความรู้สึกและประสบการณ์และอื่น ๆ         
7. การฟัง (listening) นักเรียนฟังครูอ่านบทสนทนา         
8. สนทนาอย่างอิสระ (free conversation) นักเรียนสนทนากับครูกับเพื่อน อาจเป็นการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และอื่น ๆ  


5. Desuggestopedia

                   กิจกรรมการเรียนที่ suggestopedia เน้นคือกิจกรรมการฟัง ผู้สอนจะใช้ภาษาสนทนา ที่มีคำแปลเป็นภาษาของผู้เรียนรวมทั้งไวยากรณ์และคำศัพท์จากบทสนทนาไว้ด้านหนึ่งด้วย ผู้สอนจะอ่านบทสนทนาให้ผู้เรียนฟัง 3 ครั้ง ในครั้งแรก ผู้เรียนฟังบทสนทนาที่ครูอ่านให้ฟังโดยอ่านคำแปลไปด้วย ในการอ่านครั้งที่สองผู้เรียนอาจดูบทเรียนไปด้วย และจดรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ในการอ่านครั้งที่สามนั้น ผู้อ่านจะเปิดเพลงคลาสสิกไปพร้อม ๆ กัน ผู้เรียนได้รับอนุญาตให้วางหนังสือ และเอนหลังพิงพนักเก้าอี้ตามสบาย จะหลับตาฟัง หรือจะหยิบบทเรียนขึ้นมาอ่านตามก็ได้ ในขั้นต่อไปอาจให้ผู้เรียนเล่นเกมทางภาษา การเล่นละครสั้น การร้องเพลง การถามตอบเพื่อให้ภาษาในการสื่อสารการจัดกิจกรรมจะทำเป็นกลุ่มผู้เรียนจะไม่ถูกบังคับให้ทำงานเป็นรายบุคคลกิจกรรมทุกกิจกรรมต้องเสริมให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจ และรู้สึกว่าไม่ถูกบังคับให้ทำในระยะเริ่มแรกผู้สอนจะไม่แก้ไขข้อผิดพลาดทันที แต่จะนำสิ่งที่ถูกต้องมาสอนในวันต่อไป

4. Silent Way

  The Silent Way หรือวีธีสอนแบบเงียบ  เป็นวิธีการสอนนี้จะให้ผู้เรียนค้นพบกฎการเรียนรู้ภาษาด้วยตัวพวกเขาเอง ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ เพราทำให้ครูรู้ว่าเด็กเด็กได้ทำการทดลอง ค้นหากฎนั้น ๆ อยู่ ซึ่สรุปแล้วก็คือ ครูจะเงียบ ไม่พูด แล้วปล่อยให้ผู้เรียนคิดด้วยตนเอง

ทฤษฎีของ The Silent Way
1.  ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีหากได้ค้นพบและสร้างการเรียนรู้นั้นด้วยตนเองมากกว่าการท่องจำ
2.  การเรียนรู้จะได้รับการสนับสนุนจากสื่อ
3.  ให้เด็กได้แก้ปัญหา

เทคนิคการสอน
-   Sound-color chart
-  ครูจะไม่พูด
-  Peer correction
-  Rods
- การแก้ไขด้วยตนเอง
-  Word chart
-  Fidel chart
- structured Feedback  การให้ข้อมูลย้อนกลับ

3. The Audio - Lingual Method


วิธีการสอนแบบฟัง-พูด เป็นวิธีที่เน้นทักษะพูดและฟัง ลักษณะสำคัญของวิธีสอนนี้คือ       
-  ทักษะพูดและทักษะฟัง เป็นทักษะที่ต้องพัฒนาก่อนทักษะอ่าน และเขียน   
-  ไม่สนับสนุนการใช้ภาษาที่หนึ่งในชั้นเรียน       
-  ทักษะทางภาษาเป็นรูปแบบที่ตายตัวดังนั้นควรฝึก pattern ของภาษาที่เป็นรูปบทสนทนา(dialogue) เกี่ยวกับสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ภาษาได้โดยอัตโนมัติ

2. The Direct Method

             จุดมุ่งหมายของการสอนแบบตรง คือมุ่งให้ผู้เรียนใช้ภาษาเพื่อการติดต่อสื่อสาร บทเรียนส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยกิจกรรมที่เป็นบทสนทนา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาในสถานการณ์ต่าง ๆ  ผู้เรียนจะถูกกระตุ้นให้ใช้ภาษาต่างประเทศที่กำลังเรียนอยู่ตลอดเวลา โดยไม่มีการใช้ภาษาของผู้เรียนเลย เวลาสอนผู้สอนจะพยายามสร้างสภาพแวดล้อมในห้องเรียน ให้เหมือนสภาพแวดล้อมที่ต้องใช้ภาษาต่างประเทศ ผู้สอนจะใช้ภาษาต่างประเทศตลอดเวลา ไม่มีการเน้นสอนไวยากรณ์จะไม่มีการบอกกฎไวยากรณ์อย่างชัดเจน แต่การเรียนรู้ไวยากรณ์จะเรียนรู้อยากตัวอย่างและการใช้ภาษา แล้วสรุปกฎเกณฑ์ ถึงแม้จะมีการฝึกทักษะทั้ง 4 คือ ฟัง-พูด อ่าน เขียน แต่การฝึกทักษะพูดเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดทักษะอ่าน และเขียนจะมีพื้นฐานมาจากการพูดก่อน วิธีสอนแบบนี้เน้นการรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของผู้พูดภาษา
สรุปลักษณะสำคัญของการสอนแบบตรงดังนี้
ใช้ภาษาเป้าหมายเท่านั้น
ผู้เรียนจะถูกฝึกให้ใช้ภาษาเป้าหมายที่เป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน
ผู้เรียนถูกกระตุ้นให้คิดเป็นภาษาเป้าหมาย
ทักษะแรกที่เน้นคือทักษะพูดแล้วจึงพัฒนาทักษะอ่าน

1. The Grammar-Translation Method



  ( Grammar - Translation Method) เน้นในการเรียนกฎเกณฑ์การใช้ภาษา ข้อยกเว้นต่าง ๆ และวิธีแปล การเรียนแบบนี้ครั้งหนึ่งมีผู้นิยมกันมาก วิธีสอนแบบนี้ใช้วิธีแปลเป็นหลักโดยถือว่าภาษานั้นประกอบด้วยคำเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นตำราที่เกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษจึงยึดเอาการเรียนให้รู้คำศัพท์เป็นจำนวนมากเป็นเกณฑ์ แบบฝึกหัดต่าง ๆ นั้นก็ได้แก่การให้ประโยคภาษาไทย ให้นักเรียนแปลเป็นภาษาอังกฤษ และให้ประโยคภาษาอังกฤษเพื่อให้นักเรียนแปลเป็นภาษาไทย 
ข้อดีของการสอนแบบแปล
1. การสอนแบบนี้ จะมีประโยชน์สำหรับผู้เริ่มเรียนในระยะแรก ๆ คือ ในเวลาที่ผู้เรียนยังไม่รู้จักเสียง โครงสร้าง และความหมายมากพอ การแปลศัพท์ที่มีความหมายตรงกัน (word for word translation) ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจแจ่มแจ้ง และไม่เสียเวลามาก แต่ครูจะต้องค่อย ๆ ลดการแปลลงทีละน้อย ๆ เมื่อนักเรียนรู้ภาษาอังกฤษมากขึ้น โดยการนำคำและโครงสร้างที่นักเรียนทราบมาใช้แทนที่
2. การแปลยังเป็นประโยชน์ในการช่วยทดสอบความเข้าใจของนักเรียน ในเรื่องที่สอนไปแล้ว แต่ในการฝึกเป็นภาษาอังกฤษ ไม่จำเป็นต้องฝึกแปลจากไทยเป็นอังกฤษหรือจากอังกฤษเป็นไทย
ข้อเสียของการสอนแบบแปล
จะเห็นได้ว่า การสอนแบบแปลนี้ นักเรียนไม่ได้เรียนตามธรรมชาติของภาษาเลย นักเรียนที่เรียนแบบนี้จะฟังภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่องและพูดไม่ได้ 
ในด้านการเขียน การสอนแบบนี้ก็ไม่ช่วยให้การเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนดีขึ้น เพราะนักเรียนทราบแต่ศัพท์ เมื่อนำมาเขียน นักเรียนก็จะใช้ศัพท์เหล่านั้นในประโยคโดยที่นักเรียนไม่แม่นในรูปแบบของประโยค และบังเกิดความเคยชินกับการคิดเป็นภาษาไทยก่อนเสมอแทนที่จะคิดเป็นภาษาอังกฤษเลยทีเดียว จะปรากฏว่านักเรียนใช้คำภาษาอังกฤษจริงแต่รูปประโยคจะเป็นภาษาไทย เช่น นักเรียนจะใช้ประโยคว่า “ The music enjoyed very much ” แทน “ I enjoyed the music very much .” เพราะประโยคข้างบนนั้นนักเรียนเขียนเทียบกับภาษาไทยว่า  เพลงสนุกมาก  แม้แต่ในการแปล การสอนแบบนี้ก็ไม่ได้ผลเต็มที่ นักเรียนอาจจะแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยได้ แต่การแปลจากภาษาไทยเป็นภาษา อังกฤษนั้นนักเรียนจะเขียนประโยคที่ผิด ๆ ลงไปเสียเป็นส่วนมาก เพราะนักเรียนไม่คุ้นเคยกับการใช้ประโยคภาษาอังกฤษ
การแปลนั้นมิได้หมายความว่า นักเรียนจะเข้าใจภาษาอังกฤษ เพราะคำที่นักเรียนเข้าใจนั้นเป็นคำไทยที่ครูใช้ในการแปล ไม่ใช่ตัวภาษาอังกฤษที่นักเรียนอ่าน ถ้าครูอ่านภาษาอังกฤษนักเรียนจะไม่เข้าใจ แต่ถ้าครูแปลเป็นไทยจึงจะเข้าใจ ดังนั้นที่นักเรียนเข้าใจคือ ภาษาไทยไม่ใช่ภาษาอังกฤษ