หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

Getting Teens to Really Work in Class





English Teaching Forum 2012, Volume 50, Number 4

    



 
            การสอนภาษาอังกฤษในเด็กวัยรุ่นถือเป็นการท้าทายอีกอย่างหนึ่งของครูผู้สอน  เพราะเด็กในวัยนี้จะอยู่ในวัยที่ชอบความท้าทาย  และตื่นเต้น  ความยื่ดหยุ่นในการสอนถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการสอน  ให้เกิดประสิทธิภาพ  เพราะฉะนั้นการสอนเด็กวัยรุ่น  ต้องพึ่งพาในเรื่องของความใจเย็น  และครูผู้สอนต้องมีการเรียนรู้ถึงพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็ก  และสืิ่งที่จะตามมาคือ  ประสิทธิภาพของเด็กนักเรียน

Process Writing and the Internet: Blogs and Ning Networks in the ClassroomExpand

      


          กิจกรรมที่อธิบายไว้ในบทความนี้เป็นตัวอย่าง  วิธีที่เว็บใช้เครื่องมือเครือข่ายทางสังคม  ทำให้มีโอกาสที่ดีในการดำเนินการก่อนเขียนร่างทบทวน  และปรับขั้นตอนของการเขียน นอกจากการพัฒนาที่สำคัญการเขียนและทักษะอื่น ๆ  ในภาษาอังกฤษและเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกันในโครงการการใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับ ESL /  การเรียนการสอน EFL ก้าวหน้ายังการเรียนรู้ของนักศึกษาผ่านทาง  'การเรียนรู้ผ่านทางดิจิตอลซึ่งจะทำให้มีความรู้ในการประกอบวิชาชีพในภายภาคหน้า

English Teaching Forum 2011, Volume 49, Number 2

Twenty Common Testing Mistakes for EFL Teachers to AvoidExpand



ยี่สิบข้อผิดพลาดการทดสอบทั่วไปที่ควรหลีกเลี่ยง  สำหรับครูสอน  EFL
1 การทดสอบที่ยากเกินไปหรือง่ายเกินไป
2. รายการของข้อสอบที่ให่มาไม่เพียงพอ
3. ความซ้ำซ้อนของประเภทแบบทดสอบ
4 มาตรฐานที่ขาดความน่าเชื่อถือ
5.  แบบทดสอบที่หาต้นตอไม่ได้
6.  เคล็ดลับในการทำข้อสอบ
7.  ถ้อยคำที่ซ้ำซ้อน
8.  ความแตกต่างของตัวชี้นำ
9.  ตัวชี้นำ
10.  จำนวนของตัวเลือก
11.  การผสมผสานของเนื้อหา
12.  ความผิดพลาด
13.  ความรู้ทั่วไป
14.  หลักสูตร
15.  การคู่กันของเนื้อหากับแบบทดสอบ
16.  การขาดความเข้มงวดในการทุจริตสอบ
17.  คำแนะนำที่ไม่เพียงพอ
18.  การบริหาร
19.  การขาดการแนะนำ
20.  การให้คะแนน

English Teaching Forum 2012, Volume 50, Number 3

English Teaching Forum : Teaching Listening Skills to Young Learners through 'Listen and Do' SongsExpand





English Teaching Forum 2012, Volume 50, Number 3



                            


               ปัจจุบันการพัฒนาทักษะการฟังเป็นพื้นฐาน เป็นอีกส่วนประกอบของหลักสูตร ESL / EFL สำหรับ YLs และเพลงได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในเทคนิคที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด พวกเขาให้ฝึกภาษาที่มีความหมายและสนุกสนานผ่านทางเพลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการส่งเสริมทักษะการฟัง และยิ่งฟังเพลงมากเท่าไหร่ นักเรียนก็จะยิ่งพัฒนาทักษะได้มากขึ้นเท่านั้น ประสิทธิผลและความสำคัญของเพลงเพิ่มขึ้นเมื่อพวกเขาใช้เพลงร่วมกับ TPR ซึ่งเกี่ยวข้องเกมที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย

12. Mulltiple Intelligences


องค์ประกอบของทฤษฎีการสอนแบบพหุปัญญา (เชาวน์ปัญญา 8 ด้าน)

              จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าเชาวน์ปัญญาของบุคคลไว้ 8 ด้าน

1.  สติปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)

2.  สติปัญญาในการใช้เหตุผลเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ (Logical–Mathematical Intelligence)

3.  สติปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (Bodily – Kinesthetic Intelligence)

4.  สติปัญญาด้านการมองเห็นและมิติสัมพันธ์ (Visual/Spatial Intelligence)

5.  สติปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)

6.  สติปัญญาด้านการเข้ากับผู้อื่น (Interpersonal Intelligence)

7.  สติปัญญาด้านการรู้จักและเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)

8.  สติปัญญาด้านการเป็นนักธรรมชาติวิทยา (Nationalism Intelligence)

11. Cooperative Learning

บทบาทของผู้สอน
  1. ต้องวางแผนทักษะการทำงาน เพื่อถ่ายทอดการเรียนรู้
  2. สอนผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้
  3. พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ
  4. ส่งเสริมให้เกิดเรียนรู้อย่างแท้จริง
  5. อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนสาสมารถประเมินตนเองได้
  6. กระตุ้นให้ผู้เรียนเรียนรู้
  7. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทุกๆ คน
  8. สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนใช้ความคิดให้มากขึ้น
  9. ผู้สอนต้องสอนทักษะการเข้าสังคม
  10. มีความสัมพันธ์ที่สมดุลระหว่างครูกับนักเรียน นักเรียนกับวัสดุฝึก นักเรียนกับนักเรียน
การเรียนภายในกลุ่ม มีลักษณะดังนี้
  1. มีทัศนคติที่ดีในการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
  2. แต่ละคนมีความรับผิดชอบตนเอง
  3. ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน
  4. มีการสับเปลี่ยนการเป็นผู้นำ
  5. มีความรับผิดชอบร่วมกัน
  6. มีการอภิปรายและประเมินผลงาน และการมีปฏิสัมพันธ์กัน
  7. การแบ่งกลุ่มมีหลายลักษณะ อาจแบ่งเป็นกลุ่มๆ ละ 2-6 คน การแบ่งกลุ่มไม่ควรใช้เวลามาก ควรแบ่งเป็นกลุ่มเล็กๆ
  8. ครูผู้สอนควรแบ่งกลุ่มที่ผู้เรียนสามารถทำงานด้วยกันได้ ไม่ควรให้ผู้เรียนเลือกกันเอง
  9. ควรคละผู้เรียนที่มีความสามารถสูง ปานกลางและต่ำให้อยู่ภายในกลุ่มเดียวกันให้ได้มากที่สุด
เงื่อนไขในการสอน
  1. ควรสอนกิจกรรมที่เหมาะสมการเรียนรู้ให้มากที่สุด
  2. ห้องเรียนควรจัดให้เหมาะสมและส่งเสริมผู้เรียนกลุ่มเล็กในการทำงานร่วมกันได้ และครูผู้สอนสามารถเดินไปมาหาสู่ผู้เรียนได้โดยสะดวก
  3. วัสดุอุปกรณ์การเรียนควรจัดให้ตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ในแผนการสอน
  4. การสอนวิชาการควรให้รายละเอียดมากที่สุด
  5. การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ควรสอบถามผู้เรียนแต่ละกลุ่มตกลงร่วมกันว่า จะให้แต่ละคนช่วยกันทำอะไรบ้าง
  6. สื่อวัสดุอุปกรณ์การเรียน ข้อมูลต่างๆ และการอาศัยซึ่งกันและกัน ควรผลิต/จัดหาให้เหมาะสม
  7. ผู้สอนควรมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ
  8. ผู้เรียนทุกคนควรช่วยเหลือ และช่วยกันทำงานตามที่ได้รับมอบหมายร่วมกัน
  9. ผู้สอนควรขับเคลื่อนการเรียนรู้จากการทำงานเป็นกลุ่ม โดยให้ความร่วมมือกับผู้เรียนอย่างแท้จริง
  10. การวัดผลประเมินผลควรตั้งเกณฑ์การวัดไว้ก่อนเริ่มการเรียนการสอน

10. Task Based

ข้อดีของการสอน
1. เอื้อที่จะให้ผู้เรียนมีความชำนาญ เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
2. สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นความจำเป็นของสังคมที่จะต้องพัฒนาเยาวชนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ เรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learner)
3. ชิ้นงานที่กำหนดมีความสอดคล้องสามารถนำไปใช้จริงในชีวิต ส่งผลให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของสิ่งที่เรียน ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเรียน
4. ผู้เรียนสนุกกับการเรียน เพราะได้มีบทบาทในการเรียนรู้ด้วยตนเอง แล้วนำความรู้ที่ได้มาสร้างสรรค์ผลงาน
5. ส่งเสริมสนับสนุนการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และมีเวลาที่จะเรียนรู้จากกันและกัน คนเก่งช่วยเหลือคนที่เรียนอ่อนกว่า
6. ผู้เรียนเห็นความก้าวหน้าหรือปัญหาด้วยตนเอง ควบคุมการทำงานของตนเองได้
7. ฝึกความรับผิดชอบ

8. Tatal Physical Response

               จุดมุ่งหมายของวิธีสอนแบบนี้มุ่งให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานในการเรียนภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร และกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ต่อไปหลังจากเรียนในระดับเริ่มต้นแล้ว ในระยะแรกของการเรียนการสอนผู้เรียนไม่ต้องพูดแต่ฟังและทำตามผู้สอน ผู้สอนเป็นผู้กำกับพฤติกรรมของผู้เรียนทั้งหมด ผู้เรียนเป็นผู้เลียนแบบการกระทำของผู้สอนโดยผู้สอนออกคำสั่งให้ผู้เรียน 2-3 คน ปฏิบัติตามผู้สอนปฏิบัติตามคำสั่งนั้นด้วย จากนั้นให้ผู้เรียนปฏิบัติตามคำสั่งต่าง ๆ ของผู้สอน หลังจากที่เรียนโดยปฏิบัติตามคำสั่งแล้วระยะหนึ่งเมื่อผู้เรียนพร้อมที่จะพูดก็จะเป็นผู้ออกคำสั่งเอง แล้วจะเรียนอ่านและเขียนต่อไป ผู้สอนได้สื่อกับผู้เรียนทั้งชั้น และเป็นรายบุคคล ส่วนผู้เรียนได้เรียนรู้จากการสังเกตดูเพื่อนนักเรียนด้วยกัน ช่วยให้เข้าใจและจำได้ดี นอกจากนี้การให้ผู้เรียนพูด เมื่อพร้อมที่จะพูดช่วยลดความวิตกกังวลของผู้เรียน ทำให้การเรียนภาษาเป็นเรื่องน่าสนใจ สนุกและง่ายขึ้น ภาษาที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนเป็นภาษาพูด โดยเน้นโครงสร้างไวยากรณ์ และคำศัพท์มากกว่าด้านอื่น ๆ โดยอิงอยู่กับประโยคคำสั่ง           

9. Content - Based

                  วิธีการสอนภาษาที่เน้นเนื้อหาเป็นการสอน ที่ประสานเนื้อหาเข้ากับจุดประสงค์ของการสอนภาษาเพื่อการสื่อ สาร โดยมุ่งให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือในการศึกษาเนื้อหา พร้อมกับพัฒนาภาษาอังกฤษเชิงวิชาการผู้สอนที่ใช้แนวการสอนแบบนี้เห็นว่าครู ไม่ควรใช้เนื้อหาเป็นเพียงแบบฝึกหัดทางภาษาเท่านั้น แต่ครูควรฝึกให้ผู้เกิดความเข้าใจสาระของเนื้อหา โดยใช้ทักษะทางภาษาเป็นเครื่องมือ ครูจะใช้เนื้อหากำหนดรูปแบบของภาษา (Form) หน้าที่ของภาษา (Function)และทักษะย่อย (Sub – Skills) ที่ผู้เรียนจำเป็นต้องรู้เพื่อที่จะเข้าใจสาระของเนื้อหาและทำกิจกรรมได้ การใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษานี้จะทำให้ครูสามารถสร้างบทเรียน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงได้มากที่สุด ทั้งนี้ครูจะต้องเข้าใจการสอนแบบบูรณาการหรือทักษะสัมพันธ์ ตลอดจนเข้าใจเนื้อหาและสามารถ ใช้เนื้อหาเป็นตัวกำหนดบทเรียนทางภาษา

7. Community Language Learning

             การสอนแบบนี้ส่วนมากจะไม่มีแผนการเรียนที่ชัดเจนขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เรียน โดยปกติแล้วการเรียนการสอนครูจะให้ผู้เรียนพูดแสดงความรู้สึกเป็นภาษาของผู้เรียน แล้วครูจะแปลหรือตีความที่นักเรียนพูดให้ทั้งชั้นฟังบรรยากาศชั้นเรียนจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนภาษา และเกี่ยวกับบทเรียนที่เรียน


กิจกรรมการเรียนการสอนวิธีนี้มีดังนี้

1. การแปล (translation) ผู้เรียนนั่งเป็นวงกลม ผู้เรียนพูดข้อความที่ต้องการจะแสดงความคิดหรือความรู้สึก ผู้สอนแปล ข้อความนั้นผู้เรียนพูดตามผู้สอน

2. การทำงานกลุ่ม (group work) บางครั้งผู้สอนจะให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มมีการกำหนดหัวข้อแล้วร่วมกันอภิปรายช่วยกันเตรียมบทสนทนา เตรียมเรื่องที่จะพูดหน้าชั้น เป็นต้น

3. การบันทึกเสียง (recording) นักเรียนจะบันทึกเสียงของคนในขณะที่พูดภาษาเป้าหมาย

4. ถอดความ (transcription) นักเรียนถอดคำพูดหรือบทสนทนาที่บันทึกไว้ สำหรับฝึกและวิเคราะห์โครงสร้างภาษา

5. วิเคราะห์ (analysis) นักเรียนศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างภาษาความหมายของคำวลีประโยค ที่ถอดจากเทป

6. สะท้อนกลับ/ตั้งข้อสังเกต (reflection/observation) ผู้เรียนรายงานความรู้สึกและประสบการณ์และอื่น ๆ

7. การฟัง (listening) นักเรียนฟังครูอ่านบทสนทนา

8. สนทนาอย่างอิสระ (free conversation) นักเรียนสนทนากับครูกับเพื่อน อาจเป็นการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และอื่น ๆ

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

6. Communicative Language Teaching


  การสอนแบบนี้ส่วนมากจะไม่มีแผนการเรียนที่ชัดเจนขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เรียน โดยปกติแล้วการเรียนการสอนครูจะให้ผู้เรียนพูดแสดงความรู้สึกเป็นภาษาของผู้เรียน แล้วครูจะแปลหรือตีความที่นักเรียนพูดให้ทั้งชั้นฟังบรรยากาศชั้นเรียนจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้สึกและความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนภาษา และเกี่ยวกับบทเรียนที่เรียน 
กิจกรรมการเรียนการสอนวิธีนี้มีดังนี้         
1. การแปล (translation) ผู้เรียนนั่งเป็นวงกลม ผู้เรียนพูดข้อความที่ต้องการจะแสดงความคิดหรือความรู้สึก ผู้สอนแปล ข้อความนั้นผู้เรียนพูดตามผู้สอน         
 2. การทำงานกลุ่ม (group work) บางครั้งผู้สอนจะให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มมีการกำหนดหัวข้อแล้วร่วมกันอภิปรายช่วยกันเตรียมบทสนทนา เตรียมเรื่องที่จะพูดหน้าชั้น เป็นต้น         
3. การบันทึกเสียง (recording) นักเรียนจะบันทึกเสียงของคนในขณะที่พูดภาษาเป้าหมาย         
4. ถอดความ (transcription) นักเรียนถอดคำพูดหรือบทสนทนาที่บันทึกไว้ สำหรับฝึกและวิเคราะห์โครงสร้างภาษา         
5. วิเคราะห์ (analysis) นักเรียนศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างภาษาความหมายของคำวลีประโยค ที่ถอดจากเทป         
6. สะท้อนกลับ/ตั้งข้อสังเกต (reflection/observation) ผู้เรียนรายงานความรู้สึกและประสบการณ์และอื่น ๆ         
7. การฟัง (listening) นักเรียนฟังครูอ่านบทสนทนา         
8. สนทนาอย่างอิสระ (free conversation) นักเรียนสนทนากับครูกับเพื่อน อาจเป็นการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และอื่น ๆ  


5. Desuggestopedia

                   กิจกรรมการเรียนที่ suggestopedia เน้นคือกิจกรรมการฟัง ผู้สอนจะใช้ภาษาสนทนา ที่มีคำแปลเป็นภาษาของผู้เรียนรวมทั้งไวยากรณ์และคำศัพท์จากบทสนทนาไว้ด้านหนึ่งด้วย ผู้สอนจะอ่านบทสนทนาให้ผู้เรียนฟัง 3 ครั้ง ในครั้งแรก ผู้เรียนฟังบทสนทนาที่ครูอ่านให้ฟังโดยอ่านคำแปลไปด้วย ในการอ่านครั้งที่สองผู้เรียนอาจดูบทเรียนไปด้วย และจดรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ในการอ่านครั้งที่สามนั้น ผู้อ่านจะเปิดเพลงคลาสสิกไปพร้อม ๆ กัน ผู้เรียนได้รับอนุญาตให้วางหนังสือ และเอนหลังพิงพนักเก้าอี้ตามสบาย จะหลับตาฟัง หรือจะหยิบบทเรียนขึ้นมาอ่านตามก็ได้ ในขั้นต่อไปอาจให้ผู้เรียนเล่นเกมทางภาษา การเล่นละครสั้น การร้องเพลง การถามตอบเพื่อให้ภาษาในการสื่อสารการจัดกิจกรรมจะทำเป็นกลุ่มผู้เรียนจะไม่ถูกบังคับให้ทำงานเป็นรายบุคคลกิจกรรมทุกกิจกรรมต้องเสริมให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจ และรู้สึกว่าไม่ถูกบังคับให้ทำในระยะเริ่มแรกผู้สอนจะไม่แก้ไขข้อผิดพลาดทันที แต่จะนำสิ่งที่ถูกต้องมาสอนในวันต่อไป

4. Silent Way

  The Silent Way หรือวีธีสอนแบบเงียบ  เป็นวิธีการสอนนี้จะให้ผู้เรียนค้นพบกฎการเรียนรู้ภาษาด้วยตัวพวกเขาเอง ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ เพราทำให้ครูรู้ว่าเด็กเด็กได้ทำการทดลอง ค้นหากฎนั้น ๆ อยู่ ซึ่สรุปแล้วก็คือ ครูจะเงียบ ไม่พูด แล้วปล่อยให้ผู้เรียนคิดด้วยตนเอง

ทฤษฎีของ The Silent Way
1.  ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีหากได้ค้นพบและสร้างการเรียนรู้นั้นด้วยตนเองมากกว่าการท่องจำ
2.  การเรียนรู้จะได้รับการสนับสนุนจากสื่อ
3.  ให้เด็กได้แก้ปัญหา

เทคนิคการสอน
-   Sound-color chart
-  ครูจะไม่พูด
-  Peer correction
-  Rods
- การแก้ไขด้วยตนเอง
-  Word chart
-  Fidel chart
- structured Feedback  การให้ข้อมูลย้อนกลับ

3. The Audio - Lingual Method


วิธีการสอนแบบฟัง-พูด เป็นวิธีที่เน้นทักษะพูดและฟัง ลักษณะสำคัญของวิธีสอนนี้คือ       
-  ทักษะพูดและทักษะฟัง เป็นทักษะที่ต้องพัฒนาก่อนทักษะอ่าน และเขียน   
-  ไม่สนับสนุนการใช้ภาษาที่หนึ่งในชั้นเรียน       
-  ทักษะทางภาษาเป็นรูปแบบที่ตายตัวดังนั้นควรฝึก pattern ของภาษาที่เป็นรูปบทสนทนา(dialogue) เกี่ยวกับสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้ภาษาได้โดยอัตโนมัติ

2. The Direct Method

             จุดมุ่งหมายของการสอนแบบตรง คือมุ่งให้ผู้เรียนใช้ภาษาเพื่อการติดต่อสื่อสาร บทเรียนส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยกิจกรรมที่เป็นบทสนทนา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาในสถานการณ์ต่าง ๆ  ผู้เรียนจะถูกกระตุ้นให้ใช้ภาษาต่างประเทศที่กำลังเรียนอยู่ตลอดเวลา โดยไม่มีการใช้ภาษาของผู้เรียนเลย เวลาสอนผู้สอนจะพยายามสร้างสภาพแวดล้อมในห้องเรียน ให้เหมือนสภาพแวดล้อมที่ต้องใช้ภาษาต่างประเทศ ผู้สอนจะใช้ภาษาต่างประเทศตลอดเวลา ไม่มีการเน้นสอนไวยากรณ์จะไม่มีการบอกกฎไวยากรณ์อย่างชัดเจน แต่การเรียนรู้ไวยากรณ์จะเรียนรู้อยากตัวอย่างและการใช้ภาษา แล้วสรุปกฎเกณฑ์ ถึงแม้จะมีการฝึกทักษะทั้ง 4 คือ ฟัง-พูด อ่าน เขียน แต่การฝึกทักษะพูดเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดทักษะอ่าน และเขียนจะมีพื้นฐานมาจากการพูดก่อน วิธีสอนแบบนี้เน้นการรู้วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของผู้พูดภาษา
สรุปลักษณะสำคัญของการสอนแบบตรงดังนี้
ใช้ภาษาเป้าหมายเท่านั้น
ผู้เรียนจะถูกฝึกให้ใช้ภาษาเป้าหมายที่เป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวัน
ผู้เรียนถูกกระตุ้นให้คิดเป็นภาษาเป้าหมาย
ทักษะแรกที่เน้นคือทักษะพูดแล้วจึงพัฒนาทักษะอ่าน

1. The Grammar-Translation Method



  ( Grammar - Translation Method) เน้นในการเรียนกฎเกณฑ์การใช้ภาษา ข้อยกเว้นต่าง ๆ และวิธีแปล การเรียนแบบนี้ครั้งหนึ่งมีผู้นิยมกันมาก วิธีสอนแบบนี้ใช้วิธีแปลเป็นหลักโดยถือว่าภาษานั้นประกอบด้วยคำเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นตำราที่เกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษจึงยึดเอาการเรียนให้รู้คำศัพท์เป็นจำนวนมากเป็นเกณฑ์ แบบฝึกหัดต่าง ๆ นั้นก็ได้แก่การให้ประโยคภาษาไทย ให้นักเรียนแปลเป็นภาษาอังกฤษ และให้ประโยคภาษาอังกฤษเพื่อให้นักเรียนแปลเป็นภาษาไทย 
ข้อดีของการสอนแบบแปล
1. การสอนแบบนี้ จะมีประโยชน์สำหรับผู้เริ่มเรียนในระยะแรก ๆ คือ ในเวลาที่ผู้เรียนยังไม่รู้จักเสียง โครงสร้าง และความหมายมากพอ การแปลศัพท์ที่มีความหมายตรงกัน (word for word translation) ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจแจ่มแจ้ง และไม่เสียเวลามาก แต่ครูจะต้องค่อย ๆ ลดการแปลลงทีละน้อย ๆ เมื่อนักเรียนรู้ภาษาอังกฤษมากขึ้น โดยการนำคำและโครงสร้างที่นักเรียนทราบมาใช้แทนที่
2. การแปลยังเป็นประโยชน์ในการช่วยทดสอบความเข้าใจของนักเรียน ในเรื่องที่สอนไปแล้ว แต่ในการฝึกเป็นภาษาอังกฤษ ไม่จำเป็นต้องฝึกแปลจากไทยเป็นอังกฤษหรือจากอังกฤษเป็นไทย
ข้อเสียของการสอนแบบแปล
จะเห็นได้ว่า การสอนแบบแปลนี้ นักเรียนไม่ได้เรียนตามธรรมชาติของภาษาเลย นักเรียนที่เรียนแบบนี้จะฟังภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่องและพูดไม่ได้ 
ในด้านการเขียน การสอนแบบนี้ก็ไม่ช่วยให้การเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนดีขึ้น เพราะนักเรียนทราบแต่ศัพท์ เมื่อนำมาเขียน นักเรียนก็จะใช้ศัพท์เหล่านั้นในประโยคโดยที่นักเรียนไม่แม่นในรูปแบบของประโยค และบังเกิดความเคยชินกับการคิดเป็นภาษาไทยก่อนเสมอแทนที่จะคิดเป็นภาษาอังกฤษเลยทีเดียว จะปรากฏว่านักเรียนใช้คำภาษาอังกฤษจริงแต่รูปประโยคจะเป็นภาษาไทย เช่น นักเรียนจะใช้ประโยคว่า “ The music enjoyed very much ” แทน “ I enjoyed the music very much .” เพราะประโยคข้างบนนั้นนักเรียนเขียนเทียบกับภาษาไทยว่า  เพลงสนุกมาก  แม้แต่ในการแปล การสอนแบบนี้ก็ไม่ได้ผลเต็มที่ นักเรียนอาจจะแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยได้ แต่การแปลจากภาษาไทยเป็นภาษา อังกฤษนั้นนักเรียนจะเขียนประโยคที่ผิด ๆ ลงไปเสียเป็นส่วนมาก เพราะนักเรียนไม่คุ้นเคยกับการใช้ประโยคภาษาอังกฤษ
การแปลนั้นมิได้หมายความว่า นักเรียนจะเข้าใจภาษาอังกฤษ เพราะคำที่นักเรียนเข้าใจนั้นเป็นคำไทยที่ครูใช้ในการแปล ไม่ใช่ตัวภาษาอังกฤษที่นักเรียนอ่าน ถ้าครูอ่านภาษาอังกฤษนักเรียนจะไม่เข้าใจ แต่ถ้าครูแปลเป็นไทยจึงจะเข้าใจ ดังนั้นที่นักเรียนเข้าใจคือ ภาษาไทยไม่ใช่ภาษาอังกฤษ